fbpx
9 เทคนิคก่ออิฐแดง ฉาบปูน แบบช่างก่อสร้าง

9 เทคนิคก่ออิฐแดง ฉาบปูน แบบช่างก่อสร้าง

          คงไม่แปลกนักที่จะพูดว่าบ้าน ที่พักอาศัยส่วนใหญ่ มักเลือกใช้ “อิฐแดง ในการก่อผนัง ด้วยความที่อิฐแดงนั้นเป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาถูก แต่แข็งแกร่ง ทนทานมาก จึงยังครองใจหลาย ๆ คน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการผลิตวัสดุอื่น ๆ เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมก็ตาม และหลายครั้งที่เจ้าของบ้านนั้นเลือกที่จะทำการก่อผนังอิฐแดงเอง วันนี้อิฐดีดี จึงอยากแชร์ 9 เทคนิคก่ออิฐแดง ฉาบปูน ที่จะทำให้การก่อผนังอิฐแดงของคุณง่ายขึ้น แถมยังถูกวิธี มีคุณภาพ เหมือนพี่ช่างมาก่อเอง

1.นำอิฐแดงไปแช่น้ำ ก่อนนำไปก่อผนัง

          เทคนิคนี้จะช่วยทำให้อิฐแดงมีความอิ่มน้ำเพียงพอ และไม่แย่งน้ำในปูนก่อหรือปูนฉาบ ที่อาจส่งผลให้ปูนแห้งเร็วเกินไป จนเกิดการหดตัว ผนังจะไม่แข็งแรง และแตกร้าวได้ การนำอิฐไปแช่น้ำก่อนนำไปก่อผนังจึงมีประโยชน์ย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นอิฐแดง อิฐบล็อก หรือแม้แต่อิฐมวลเบา จะมีรูพรุนเล็ก ๆ แทรกตัวอยู่ รูพวกนี้จะทำหน้าที่ดูดซับน้ำ และความชื้น เมื่อนำอิฐแดงไปแช่น้ำก่อน อิฐก็จะมีความอิ่มตัวครับ

แช่น้ำอิฐแดง

2. อย่าก่อปูนหนาเกิน 1.5 ซม. 

          ปัจจัยหลักสำคัญที่ทำไมถึงไม่ควรก่อปูนหนาเกิน 1.5 ซม. นั่นเป็นเพราะเมื่อปูนก่อเริ่มแห้งจะมีการหดตัวของชั้นปูนเล็กน้อย ซึ่งการก่อปูนหนาเกินกว่า 1.5 ซม. นั้น อาจทำให้ชั้นปูนเกิดความทรุดตัว และทำให้ผนังโน้มเอียง ไม่แข็งแรง ส่งผลให้ผนังแตกร้าว นอกจากนี้การก่อผนังอิฐแดงโดยมีร่องปูนก่อหนาเกินกว่า 1.5 ซม. เป็นการก่อที่ทำให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นอีกด้วยครับ เพราะฉะนั้นควรก่อปูนให้มีความหนา อยู่ที่ 0.5 – 1.5 ซม. จะเหมาะสมที่สุด

วิธีก่อผนังอิฐแดง

3. ก่ออิฐแดงสลับแนว

          การก่ออิฐแดง โดยก่อในรูปแบบสลับแนว เป็นการยึดประสานกันระหว่างชั้นอิฐมากกว่าการก่ออิฐแดงแบบแถวตรง เพื่อให้ผนังอิฐก่อมีความแข็งแกร่ง ทนทาน และยึดประสานกันได้แน่นขึ้น

วิธีก่อผนังอิฐแดง

4. ติดตั้งเสาเอ็น และคานทับหลัง 

          เสาเอ็น และคานทับหลังที่พี่ ๆ ช่างหลายคนอาจหลงลืมไปนั้นเปรียบเสมือนกระดูก และเส้นเอ็น ที่จะช่วยยึดเกาะให้ผนังอิฐแดงก่อมีความแข็งแกร่ง ทนทานต่อแรงกระแทก และแรงกดทับ โดยเฉพาะในจุดที่เป็นช่องเปิด หรือช่องประตู หน้าต่าง ที่ต้องมีการเปิดปิดอยู่เป็นประจำ โดยต้องติดตั้งเสาเอ็น และคานทับหลังทุก ๆ ระยะความกว้าง 2.5 เมตร และความสูง 1.5 เมต ในผนังที่มีความยาวเกิน 3 เมตรขึ้นไป

เสาเอ็น-คานทับหลัง

5. อย่าลืมยัดหัวปลาสร้อย

          การก่อผนังอิฐแดงนั้น ควรเว้นพื้นที่ระหว่างเพดานด้านบนไว้ประมาณ 10 ซม. รอให้ปูนก่อเซ็ทตัวดี ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงทำการ “ยัดหัวปลาสร้อย” ซึ่งเป็นวิธีการก่ออิฐแดงในแนวตั้งเอียงตัวประมาณ 45 องศา ให้อยู่ระหว่างช่องว่างผนัง กับเพดานด้านบนที่เว้นไว้ เทคนิคนี้เป็นการลดปัญหาแรงกดทับ และการแตกร้าวของผนัง เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ท้องคาน หรือแผ่นซีเมนต์สำเร็จรูปด้านบนมักจะเกิดการแอ่นตัวลงมากดทับกับผนังด้านล่าง หากเราก่อผนังขึ้นไปจนชิดเพดาน อาจทำให้ผนังเกิดการแตกร้าวได้ครับ

ยัดหัวปลาสร้อย

6. รดน้ำผนังอิฐแดงก่อ ก่อนฉาบปูน

          ประโยชน์ของการทำเทคนิคนี้ก็คล้ายกับการนำอิฐแดงไปแช่น้ำ ก่อนนำไปก่อผนังเลยครับ เพื่อป้องกันไม่ให้อิฐแดงแย่งน้ำจากปูนฉาบ จนอาจทำให้ผนังเกิดการแตกร้าวได้ จึงควรรดน้ำผนังอิฐแดงก่อให้ชุ่มก่อนฉาบ 1 วัน และรดน้ำซ้ำอีกครั้งในเช้าวันที่จะทำการฉาบ

รดน้ำผนังอิฐแดง

7. ใช้เครื่องผสมปูนฉาบดีกว่า 

          งานฉาบเป็นงานที่ค่อนข้างละเอียดไม่แพ้กับงานก่อผนังเลย ซึ่งผนังที่คนส่วนมากต้องการ คือผนังที่เรียบเนียน ไม่สะดุด เพราะฉะนั้นปูนฉาบจึงควรเป็นปูนที่มีเนื้อเนียนละเอียด ตัวช่วยสำคัญในเทคนิคนี้จึงเป็นเครื่องผสมปูนครับ เพราะเครื่องผสมปูนนั้นมีคุณสมบัติในการผสมปูนกับน้ำ และทรายให้เข้ากันได้ดีมากกว่าการผสมด้วยมือ หรือถ้าหากหาเครื่องผสมปูนไม่ได้จริง ๆ การใช้สว่านปั่นปูนก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถทดแทนกันได้ครับ

ผสมปูน

8. อย่าฉาบปูนหนาเกินไป

          การฉาบปูนที่มีความหนาเกินไป นอกจากจะเปลืองปูนแล้ว ยังทำให้ปูนแห้งช้า และผนังอิฐแดงก่อต้องรับน้ำหนักของปูนฉาบที่มากขึ้น เสี่ยงต่อการแตกร้าว และยากต่อการแก้ไข ในกรณีที่ผนังเกิดการเอียง หรือไม่เรียบเท่ากัน ปกติแล้วสามารถแก้ได้โดยการฉาบปูนเพิ่ม ปาดให้เท่ากัน แต่หากปูนที่ฉาบไว้แล้วมีความหนาเกินไป การแก้ไขก็มีแต่ต้องสกัดออกแล้วฉาบใหม่เท่านั้นแหละครับ เพราะฉะนั้นจึงควรฉาบปูนให้มีความหนาอยู่ที่ 1.5 – 2 ซม. ก็เพียงพอแล้ว

ฉาบปูนหนาเกินไป

9. บ่มผนังให้ความชื้น

          เทคนิคนี้เป็นตัวช่วยไม่ให้ปูนฉาบเสียน้ำ และหดตัวเร็วเกินไป ซึ่งสามารถทำได้โดยการรดน้ำผนังที่าบปูนทิ้งไว้แล้ว 24 ชม. ให้ชุ่มอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ไป 3-7 วัน และเพิ่มจำนวนครั้งในการรดน้ำเป็นวันละ 2-3 ครั้ง ในส่วนของผนังที่เผชิญกับแดด หรือความร้อน โดยอาจเพิ่มตัวช่วยด้วยการขึงผ้าใบปิด เพื่อลดการสัมผัสกับอากาศ และแสงแดด ผนังที่ได้จะแข็งแรง ทนทาน ไม่แตกร้าวง่าย

บ่มผนัง

          นี่เป็นเพียงเทคนิคเบื้องต้นที่จะช่วยให้งานก่อ ฉาบผนังอิฐแดงของคุณเป็นเรื่องที่ง่ายมากยิ่งขึ้น และยังช่วยลดโอกาสที่จะทำให้ผนังเกิดการแตกร้าว ได้ผนังที่แข็งแกร่ง และเรียบเนียนสวย บ้านของคุณก็จะสวยไปด้วย

 

 

ข้อมูลอ้างอิง : baania.com และ SCG Cement-Building Materials

 

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn
On Key

Related Posts

พื้นที่ 1 ตารางเมตร ต้องใช้อิฐแดงกี่ก้อน?

พื้นที่ 1 ตารางเมตร ต้องใช้อิฐแดงกี่ก้อน?

          เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยประสบกับปัญหาคำนวณการใช้งานของอิฐแดงต่อพื้นที่ไม่ถูก หรืออาจจะไม่มั่นใจกับจำนวนที่คิดออกมา วันนี้อิฐดีดีจะมาทำให้การคำนวณการใช้งานของอิฐแดงต่อพื้นที่ให้ง่ายขึ้น ด้วยการเปรียบเทียบจำนวนอิฐแดงแต่ละชนิดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณเลือกใช้งานอิฐแดงแต่ละชน

อ่านต่อ »
5 ปัญหา ต้องเตรียมรับมือ กับการสร้างบ้านหน้าฝน

5 ปัญหา ต้องเตรียมรับมือ กับการสร้างบ้านหน้าฝน

          การสร้างบ้านหน้าฝน โบราณเขาถือว่าเป็นฤกษ์ยามที่ไม่ดี จะทำอะไรก็ติดขัด ควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรก่อสร้างในช่วงนี้ จะทำให้เกิดสิ่งไม่ดีกับบ้าน ก็แน่ล่ะครับ เพราะความเปียกชื้นจากน้ำฝนที่ตกลงมาย่อมสร้างปัญาให้งานก่อสร้างอยู่แล้ว แต่เพียงเรารู้ก่อนว่าการสร้างบ้านหน้าฝนจะต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง และจะ

อ่านต่อ »
9 แพทเทิร์นก่ออิฐยอดฮิต ก่อง่าย ได้ผนังสวย

9 แพทเทิร์นก่ออิฐยอดฮิต ก่อง่าย ได้ผนังสวย

          ไอเดียตกแต่งผนังในยุคปัจจุบันนั้นมีเยอะแยะ มากมาย และหนึ่งในไอเดียเหล่านั้นที่นิยมทำกันก็คือการก่อผนังอิฐแดงโชว์แนว โชว์พื้นผิวสัมผัสของวัสดุ วันนี้อิฐดีดีเลยนำแพทเทิร์นก่ออิฐแดงรูปแบบต่าง ๆ มาฝากทุกคน เพื่อเป็นตัวเลือกใหม่ ๆ ให้กับใครที่ยังคิดไม่ออกว่าจะก่อผนังในรูปแบบไหนดี จะมีรูปแบบไหนเ

อ่านต่อ »
อิฐโบราณเผาแกลบ VS อิฐโบราณเผาฟืน แตกต่างกันอย่างไร?

อิฐโบราณเผาแกลบ VS อิฐโบราณเผาฟืน แตกต่างกันอย่างไร?

“อิฐโบราณ” หนึ่งในวัสดุที่ถูกหยิบมาใช้ในงานตกแต่งผนังมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผนังบ้าน ร้านอาหาร คาเฟ่ต่าง ๆ ด้วยตุณสมบัติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่รู้หรือไม่ว่า อิฐโบราณที่เราเห็นนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ชนิดเดียว มีทั้งอิฐโบราณเผาแกลบ และอิฐโบราณเผาฟืน ซึ่งอิฐโบราณทั้ง 2 ชนิดนั้น จะมีความแตกต่างกันอย่างไ

อ่านต่อ »
Tag : หมวดหมู่สินค้า

ติดต่อสอบถาม